วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

หน้าที่ของเหล่าทหารแห่งกองทัพ "ภูมิคุ้มกัน"



ก็อย่างที่รู้ๆ กันดีอยู่แล้วว่า
ภูมิคุ้มกันนั้น จะช่วยปกป้องร่างกายจากความเจ็บป่วย
และช่วยให้การเจ็บป่วยหายเป็นปกติได้เร็วขึ้น
การควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันส่วนใหญ่
ก็จะเป็นหน้าที่ของเม็ดเลือดขาวซึ่งอยู่ในกระแสเลือด

สำหรับเม็ดเลือดขาวมีลักษณะพิเศษกว่าเม็ดเลือดแดง
ตรงที่เม็ดเลือดขาวสามารถบีบตัวเองให้มีขนาดเล็ก
เพื่อให้ลอดออกมาจากผนังหลอดเลือดฝอยได้
ดังนั้นหากมีเชื้อโรคเล็ดลอดเข้ามาทางผิวหนัง
เม็ดเลือดขาวก็สามารถพาตัวเองออกมาจากหลอดเลือด
และเข้าไปทำลายเชื้อโรคเหล่านั้นได้
เช่น ขณะที่เกิดเป็นฝีหนองบริเวณผิวหนัง
ก็คือการมีแบคทีเรียที่สามารถหลุดเข้าไปในผิวหนังได้
และเกิดการสู้รบกับเหล่าเม็ดเลือดขาวทั้งหลายขึ้น
ที่หัวฝีจะมีหนองเป็นตุ่มสีขาวๆ ซึ่งนั่นก็คือ
เศษซากของเม็ดเลือดขาว กับแบคทีเรียที่ตายแล้ว
และหากมีแบคทีเรียจำนวนมาก หลุดเข้าสู่ร่างกาย
ก็อาจจะบุกเลยเถิดเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองได้
ทีนี้พอเม็ดเลือดขาวเข้าไปจู่โจมทำลายแบคทีเรียเหล่านั้น
ก็อาจทำให้เกิดอาการอักเสบขึ้นไดในบริเวณต่อมน้ำเหลือง
เช่น บริเวณต่อมทอนซิลอักเสบ เป็นต้น

เม็ดเลือดขาว จะแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ๆ
หรืออาจเรียกว่าเป็น สามเหล่าทัพ ก็คือ
แมคโครฟาจ , ลิมโฟไซต์ และ แกรนูโลไซต์
ซึ่งเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันที่มีชื่อแปลกๆ เหล่านี้
ต่างก็มีบทบาทที่แตกต่างกันออกไป
เช่น ทำหน้าที่เป็นหน่วยลาดตระเวน คอยตรวจตราสิ่งแปลกปลอม
ส่งสัญญาณไปยังเซลล์อื่น ออกคำสั่งจู่โจมสิ่งแปลกปลอม
หรือจู่โจมสิ่งแปลกปลอม อย่างนี้เป็นต้น

1. กองทหารลาดตระเวนพันธุ์โหด
แมคโครฟาจ (Macrophage)

โมโนไซต์ คือ กลุ่มของเม็ดเลือดขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
มีหน้าที่เป็นฟาโกไซต์ หรือแปลง่ายๆ ว่า "จอมเขมือบ"
แถมยังชอบกินแบคทีเรียบางชนิดได้ดีเป็นพิเศษอีกด้วย
นอกจากนี้แล้ว...
ยังสามารถสวาปามเชื้อโรคทุกชนิดที่มีขนาดใหญ่ๆ
ซึ่งเม็ดเลือดขาวชนิดอื่นไม่สามารถจะกลืนกินได้ (ส่งมา)

ซึ่งในกรณีที่เชื้อโรคแปลกปลอมมีขนาดใหญ่เกินไป
จนกระทั่งกินไม่ไหว กลืนไม่ลง...55555
เจ้าโมโนไซต์นี่ก็จะใช้วิธีแบ่งตัวเองออก...แบ่งออก...แบ่งออก...
เพื่อล้อมวงเขมือบเจ้าสิ่งแปลกปลอมนั้น
และเมื่อโมโนไซต์มีขนาดใหญ่ขึ้น
ก็จะกลายสภาพตัวเองหรือแปลงร่างเป็น แมคโครฟาจ (Macrophage)
และเราเรียกแมคโครฟาจ นี้ว่า "หน่วยลาดตระเวนพันธุ์โหด"
เพราะเจ้าแมคโครฟาจจะทำหน้าที่ออกลาดตระเวน
ตรวจตราไปทั่วๆ ร่างกาย
ถ้าแมคโครฟาจตระเวณไปพบกับเชื้อโรคที่อ่อนแอ
ก็จะเข้าทำการจู่โจมทันที โดยวิธีการ รุมกินโต๊ะ
กลุ่มเชื้อโรคที่โชคร้ายเหล่านั้น...นั่นเอง555

และเมื่อกินเสร็จจนอิ่มหมีพีมันแล้ว
ก็จะทำการส่งต่อข้อมูลของสิ่งแปลกปลอมนั้นไปยัง เซลล์ที
ซึ่งเป็นคลังเก็บข้อมูลส่วนกลาง
แจ้งว่ามีศัตรูแบบไหนที่บังอาจแหยมเข้ามารุกล้ำร่างกาย
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องค้นคว้า
และหารูปแบบของจุดอ่อนศัตรูเตรียมเอาไว้
จะได้มีวิธีจัดการง่ายๆ ถ้าหากเจอกันอีกในคราวหน้า 555

แต่ถ้าเชื้อโรคที่เจอมีความแข็งแกร่งเกินไป
หรือมีปริมาณที่มากเกินกว่าจะกำจัดได้หมด
แมคโครฟาจ ก็จะทำการส่งสัญญาณข้อมูลต่างๆ ของศัตรุ
ไปให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบ
เพื่อจะได้หาวิธีที่เหมาะสมมาจัดการกับศัตรูในขั้นต่อไป
เห็นไม...ตัวเองสู่ไม่ได้แล้ว ยังอุตส่าห์ส่งข้อมูลไปให้เพื่อน
เพื่อให้หาวิธีมาสู้กับศัตรูอีก...สุดยอดจริงๆ

2. ทัพหน้าหน่วยกล้าตาย
ลิมโฟไซต์ (lymphocyte)

เราเรียกลิมโฟไซต์ ว่า "ทัพหน้าหน่วยกล้าตาย"
โดยทัพหน้าของเรา แบ่งออกเป็นสามกองกำลังย่อยๆ คือ
เซลล์ที (T cell) กับ เซลล์บี (B cell) และ เซลล์เอ็นเค (NK cell)
หรือ Natural killer cell นั่นเอง

กองกำลังที่หนึ่ง
เซลล์ที มีจุดกำเนิดจากเซลล์ตั้งต้นในไขกระดูก
และพัฒนาจนเป็นเซลล์ทีในต่อมไทมัส (Thymus gland)
ดังนั้นจึงเรียกว่า เซลล์ที
ทีลิมโฟไซต์ เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันแบบอาศัยเซลล์
บนผิวจะมีตัวรับที่จะจับกับแอนติเจนหรือจับสิ่งแปลกปลอมที่แตก
ต่างกัน ดังนั้นจึงมีเซลล์ทีอยู่หลายชนิด
เพื่อจะได้จดจำแอนติเจน หรือสิ่งแปลกปลอมแยกชนิดกันไป

เซลล์ทียังแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. ไซโตทอกซิก เซลล์ที บางทีก็เรียก "เซลล์ทีนักฆ่า"
เพราะมีหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอม
และจดจำเซลล์ที่มีแอนติเจนแปลกปลอมอยู่บนผิวเซลล์นั้น
และทำลายเซลล์เหล่านั้น เช่น เซลล์มะเร็ง เซลล์ติดเชื้อไวรัส
เซลล์จากอวัยวะที่ร่างกายได้รับการปลูกถ่าย เป็นต้น

2. เซลล์ทีผู้ช่วย
จะมีหน้าที่ช่วยเซลล์ทีชนิดอื่นๆ
รวมทั้งช่วยเซลล์บี ในการต่อต้านแอนติเจนที่แปลกปลอมเข้ามา
ในร่างกายด้วย
โดยวิธีการไปกระตุ้นเซลล์บีให้สร้างแอนติบอดีหรือสารภูมิต้านทาน
ออกมาต่อต้านเชื้อโรค

3. ซับเพรสเซอร์เซลล์ที
มีหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเซลล์ทีผู้ช่วย และเซลล์ทีนักฆ่า
โดยจะควบคุมการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันไม่ให้มีมากจนเกินไป

กองกำลังที่สอง
เซลล์บี ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน
โดยการสร้างแอนติบอดีจำเพราะ สำหรับสิ่งแปลกปลอมแต่ละชนิด
การพัฒนาของเซลล์บีเกิดขึ้นที่ "เบอร์ซา ออฟ ฟาบริเซียส"
(Bursa of Fabricius) ซึ่งเป็นอวัยวะน้ำเหลืออยู่ใกล้กับโคลเอกา
(Cloaca) ดังนั้นจึงเรียก เซลล์บี (B ย่อมาจากคำว่า Bursa)
ในสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆ จะไม่มี Bursa
แต่ก็มีอวัยวะอื่นเทียบเท่ากัน
และในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม คิดว่าเซลล์บีมีพัฒนาการอยู่ใน
ไขกระดูก

ในทำนองเดียวกันกับเซลล์ที
เซลล์บี ที่ถูกสร้างขึ้นในจำนวนมากมาย
แต่ละชนิดมีความจำเพราะกับแอนติเจนหรือสารก่อแพ้ที่แตกต่างกัน
เมื่อเซลล์บีได้มาสัมผัสกับแอนติเจนแต่ละชนิด
เซลล์บีก็จะแบ่งตัวออกมากขึ้น และเปลี่ยนตัวเองหรือแปลงร่างให้
เป็น พลาสมาเซลล์ (Plasma cells) เพื่อสร้างแอนตีบอดี
หลังจากเป็นพลาสมาเซลล์แล้ว ก็จะเปลี่ยนตัวเองอีกครั้ง
เป็น เมมโมรีเซลล์ (Memory cells)
ซึ่งเมมโมรีเซลล์จะทำให้มีอายุยืนยาวกว่า
และจะทำการสร้างแอนติบอดีในปริมาณเล็กน้อยขึ้นมาตลอดเวลา
ทีนี้พอร่างกายได้รับเชื้อโรคตัวเดิมเข้าไป
แอนติบอดีที่มีอยู่นี้ก็จะทำลายเชื้อโรคนั้นทันที
ในขณะเดียวกัน...
เมมโมรีเซลล์จะแบ่งตัวเพื่อสร้างพลาสมาเซลล์เพิ่มจำนวนขึ้นมาอีก
ทำให้สร้างแอนติบอดีได้ปริมาณมากกว่าและเร็วกว่าการสร้างใน
ครั้งแรก แถมแอนติบอดีนี้จะอยู่ในร่างกายได้นานกว่าด้วย

กองกำลังที่สาม
ลิมโฟไซต์ นอกจากจะมีเซลล์บี และเซลล์ทีแล้ว
ยังมีเซลล์อีกชนิดหนึ่งคือ "เซลล์เอ็นเค"
(เอ็นเคนะ ไม่ใช่เอ็มเค...นั่นมันสุกี้...555)
เซลล์เอ็นเคจะรับหน้าที่ลาดตระเวนไปทั่วร่างกาย
สามารถรับรู้ถึงความผิดปกติต่างๆ ในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
และจะเปิดฉากโจมตีได้ก่อนใคร
และที่เหนือสิ่งอื่นใด
เซลล์เอ็นเคยังสามารถตรวจพบเซลล์มะเร็ง หรือเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส
ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถเข้าทำลายได้ทันทีอีกด้วย
คาดว่าในร่างกายของคนเรา
มีเซลล์มะเร็งก่อตัวขึ้นวันละ 3,000 - 5,000 เซลล์
เซลล์เอ็นเคก็จะทำงานประสานกับเซลล์ที่เพชฌฆาต
เข้าจัดการกับเจ้าเซลล์มะเร็ง เพื่อช่วยให้เราปลอดภัยจากโรคมะเร็ง
เช่นกัน
เพราะในร่างกายแต่ละคน
มีเซลล์เอ็นเคอยู่ไม่น้อยกว่า 5 พันล้านเซลล์
พบว่าคนจำนวนมาก มีเซลล์นี้มากถึง 1 แสนล้านเซลล์เลยทีเดียว
แต่ต้องบอกนะว่า
เซลล์เอ็นเคนั้น อ่อนไหวต่อเรื่องอาหาร และความเครียดทางจิตใจ
หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เซลล์เอ็นเคจะเข้มแข็งหรืออ่อนแอ
ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการดำเนินชีวิตประจำวันของเรานั่นเอง

พบว่าเซลล์เอ็นเค มีพลังทำงานได้สูงสุดตั้งแต่ช่วงเช้าราว 09.00 น.
ไปจนถึงช่วงเย็นคือราว 17.00 น.
และมีพลังต่ำสุดตอนกลางคืน 21.00 น.

3. ทัพหลวง แกรนูโลไซต์
แกรนูโลไซต์ เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดที่มีนิวเคลียส
แบ่งออกเป็นหลายๆ ก้อน ต่อเนื่องกัน
ส่วนใหญ่จะเป็นพวกฟาโกไซต์ หรือเผ่าพันธุ์จอมเขมือบ (ยังจำได้
อยู่หรือเปล่าเอ่ย) ที่กำจัดศัตรูโดยวิธีกลืนกินสิ่งแปลกปลอมที่เข้า
สู่ร่างกาย
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 กองทัพ คือ

1. นิวโทรฟิล (Neutrophil) "หน่วยพลีชีพแบบเคลื่อนที่เร็ว"
เม็ดเลือดขาวชนิดนี้มีมากที่สุดถึง 60% ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด
สามารถเคลื่อนที่ไปยังจุดที่มีเชื้อโรคได้อย่างรวดเร็ว
และโอบกินสิ่งแปลกปลอมไว้ในเซลล์ เรียกว่า "ฟาโกโซม"
ทั้งเซลล์จะเคลื่อนเข้าล้อมรอบผนังเซลล์ของสิ่งแปลกปลอม
แล้วเชื่อมรวมเป็นถุงเดียวกัน
เอมไซม์จากนิวโทรฟิลจะถูกปล่อยเข้าย่อยสิ่งแปลกปลอม
เมื่อย่อยโดยเฉพาะแบคทีเรียได้หมดแล้ว
นิวโทรฟิลก็จะตายตามไปด้วย
จากนั้นมันจะรวมตัวกันหลายเป็นหนอง และนูนขึ้นมาจากผิวหนัง
กลายเป็นฝีหนอง รอให้ร่างกายขจัดออกต่อไป
(ซึ่งส่วนใหญ่มักจะชอบบีบกัน 555)

2. เอซิโดฟิล หรือ อีโอโนฟิล (Acidophil หรือ Eosinophil)
"นักเขมือบจอมลีลา"
มีประมาณ 1 - 3% ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด
จะเคลื่อนที่เพื่อไปจู่โจมสิ่งแปลกปลอมได้ช้ากว่านิวโทรฟิล
แถมเวลาที่จะโอบกินสิ่งแปลกปลอมแต่ละที
จะเลือกกินเฉพะสารก่อแพ้หรือแอนติเจนที่มี "ภูมิคุ้มกัน"
ที่จะมารวมตัวจนเกิดเป็นสารประกอบแล้วเท่านั้น (Antigen-antibody
complex)
ถ้าเจอเฉพาะสิ่งแปลกปลอม หรือแอนติเจนเพียงอย่างเดียว
โดยไม่มีภูมิคุ้มกันอยู่ด้วย ก็จะทำเป็นหยิ่ง ไม่ยอมจับกิน
ปล่อยให้สารก่อแพ้ที่เจอนั้น ลอยหนีไปเฉยๆ ซะงั้น
เหมือนพวกที่ชอบกินขนมปังเคลือบช็อคโกแล็ตนั่นแหละ
พอไม่มีช็อกโกแล็ตเคลือบ ก็ไม่ยอมกิน 555

ในอีโอซิโนฟิลนี้จะมีสารโปรไฟบริโนไลซิน
ที่ทำให้เลือดคงสภาพเป็นของเหลวอยู่ตลอดเวลา
ไม่แข็งตัวไปซะก่อนด้วย
อีโอซิโนฟิลจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้แบบต่างๆ
และเมื่อเกิดการติดเชื้อปรสิต เช่น หนอนพยาธิ เป็นต้น

3. เบโซฟิล (Basophil)
มีประมาณ 1% ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด
เบโซฟิลเคลื่อนที่ได้ช้าเหมือนอะมีบา
และสามารถกินสิ่งแปลมปลอมได้
เบโซฟิลมีสาร "ฮิสตามีน" อยู่มาก
ซึ่งจะปล่อยออกมาเมื่อเนื้อเยื่อยเกิดการบาดเจ็บ
และเพื่อตอบสนองปฏิกิริยาภูมิแพ้
นอกจากนี้ยังมีสาร "เฮพาริน" ที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือดด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น